temporal Adverbien

แตะที่ไอคอนเพื่อดูเมนูเพิ่มเติม

temporal Adverbien คำกริยาวิเศษณ์บ่งชี้เวลา

temporal Adverbien

Adverbien คือ คำบุพบท และ temporal มีความหมายเกี่ยวกับเวลา temporal Adverbien คือ คำบุพบทที่ใช้บ่งชี้ช่วงเวลา (Zeitpunkt) ระยะเวลา (Dauer) หรือความถี่ (Wiederholung) ในการเกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำต่างๆ เมื่อเราค้นหาในพจนานุกรม เราจะสามารถบ่งบอกได้ว่าคำนั้นเป็นคำบุพบท เพราะมีการเขียนคำย่อว่า (Adv.) กำกับอยู่

Zeitpunkt

ตัวอย่าง temporal Adverbien ที่ใช้ในการบอกช่วงเวลา เช่น
vorgestern (Adv.) 👉 เมื่อวานซืน
gestern (Adv.) 👉 เมื่อวาน
heute (Adv.) 👉 วันนี้
morgen (Adv.) 👉 พรุ่งนี้
übermorgen (Adv.) 👉 มะรืนนี้
heute Nacht (Adv.) 👉 คืนนี้
damals (Adv.) 👉 เมื่อตอนนั้น
demnächst (Adv.) 👉 เร็วๆนี้
sofort (Adv.) 👉 ทันทีทันใด
später (Adv.) 👉 ในภายหลัง
เป็นต้น

Zeitpunkt

เมื่อเราตั้งคำถามเกี่ยวกับ Zeitpunkt จะขึ้นต้นคำถามด้วย Wann....?
เช่น Wann fährst du nach Berlin?
เธอจะกลับเบอร์ลินเมื่อไหร่
ตอบ Morgen. (พรุ่งนี้)
(Morgen fahre ich nach Berlin. พรุ่งนี้ฉันจะเดินทางกลับเบอร์ลิน)
Wann hast du die Prüfung gemacht?
เธอสอบไปตอนไหน
Vorgestern. เมื่อวานซืน เป็นต้น

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่าง morgen (Adverb) และ Morgen (Nomen)
2 คำนี้ไม่ได้มีความหมายเดียวกัน และเป็นคำคนละประเภท ซึ่ง Adverb จะไม่ได้เขียนขึ้นต้นคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ แต่คำนาม Morgen จะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ เมื่อเราใช้สลับกัน อาจทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดได้
บางครั้งที่เราพบ Adverb morgen เขียนขึ้นต้นประโยคด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ อาจจะไม่สามารถแยกได้ว่าความจริงแล้วคำนั้นคือ Adverbien หรือ Nomen กันแน่

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่าง morgen (Adverb) และ Morgen (Nomen)
เช่น Morgen gehe ich in die Schule.
Morgen ในประโยคนี้ มีความหมายว่า "พรุ่งนี้" หรือว่า "ตอนเช้า" ล่ะ?
คำตอบคือ Morgen ในประโยคนี้ คือ Adverb ซึ่งอาจจะเขียนรูปประโยคอีกแบบได้เป็น
Ich gehe morgen in die Schule.
จะเห็นได้ว่าเมื่อ morgen ไปอยู่ระหว่างประโยค และเขียนด้วยตัวเล็กทำให้สามารถแยกได้ง่ายขึ้น
แต่ข้อสังเกตุอีกอย่างง่ายๆคือ คำนาม (Nomen) (เมื่อไม่ได้ถูกขยายโดย Adverb) มักจะใช้คู่กับ Präposition ที่ใช้ในการบอกเวลา ต่างจาก Adverb ที่ไม่ต้องการ Präposition ใดๆ

ข้อควรระวัง

Am Morgen gehe ich in die Schule.
ฉันไปโรงเรียนในตอนเช้า
Morgen ในประโยคนี้ มีความหมายว่า ตอนเช้า และมี Präposition an+dem (am) เข้ามาช่วย
หรือเขียนประโยคอีกอย่างเป็น Ich gehe am Morgen in die Schule.
Morgen ยังคงขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะเป็นคำนาม
เพราะฉะนั้น morgen (Adv.) ❌ der Morgen (Nomen)

การใช้ Adverbien ขยายคำนาม

นอกจากเราสามารถที่จะใช้ Adverbien เดี่ยวๆ บอกช่วงเวลาได้แล้ว
เรายังสามารถนำ Adverbien ไปขยายหน้าคำนามที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เพื่อให้มีความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
Adverbien ที่มักนำมาขยายคำนาม 👉 heute วันนี้, vorgestern เมื่อวานซืน, morgen พรุ่งนี้
ในการขยายคำนามของ Adverbien สามารถนำไปวางไว้ที่หน้าคำนามได้เลย และไม่ต้องมีการผันตามคำนามเช่นในคำคุณศัพท์ (Adjektiv)
เช่น นำ heute วันนี้ ไปขยายคำนาม (der) Abend ตอนเย็น
heute + Abend ได้คำใหม่ที่ถูกขยายเป็น
heute Abend 👉 เย็นนี้

การใช้ Adverbien ขยายคำนาม

heute + Morgen
= heute Morgen 👉 เช้านี้
heute + Nacht
= heute Nacht 👉 คืนนี้
morgen + Morgen
= morgen Morgen 👉 พรุ่งนี้เช้า
โดยปกติเมื่อเราใช้ คำนามที่ถูก Adverbien ขยาย เราไม่จำเป็นต้องใช้ Präposition นำหน้าคำนามนั้นเหมือนกรณีปกติ
เช่น Ich gehe heute Abend ins Kino.
มักจะไม่ใช้ Ich gehe am heute Abend ins Kino.

Wiederholung

ตัวอย่าง temporal Adverbien ที่ใช้ในการบอกความถี่การทำซ้ำ เช่น
nie (Adv.) 👉 ไม่เคย
selten (Adv.) 👉 นานๆครั้ง
manchmal (Adv.) 👉 บางครั้ง
regelmäßig (Adv.) 👉 เป็นประจำ
oft (Adv.) 👉 บ่อยๆ
immer (Adv.) 👉 เสมอ ตลอดเวลา

Wiederholung

เมื่อเราตั้งคำถามเกี่ยวกับ Wiederholung จะขึ้นต้นคำถามด้วย Wie oft....?
เช่น Wie oft rauchst du?
เธอสูบบุหรี่บ่อยหรือเปล่า
Ich rauche nie. (ฉันไม่เคยสูบบุหรี่)
Ich rauche manchmal. (ฉันสูบบุหรี่บางครั้ง)
Ich rauche oft. (ฉันสูบบุหรี่บ่อยๆ)
Wie oft kochst du zu Hause?
เธอทำอาหารที่บ้านบ่อยหรือเปล่า
Ich koche manchmal. ฉันทำอาหารบางครั้ง
Ich koche regelmäßig. ฉันทำอาหารเป็นประจำ
Ich koche immer (zu Hause). ฉันทำอาหารอย่างสม่ำเสมอ (ทุกวัน)

ถามช่วงเวลา Adverbien ขยายคำนาม ถามความถี่