แตะที่ไอคอนเพื่อดูเมนูเพิ่มเติม

Zeitform: Präsens - Ich lerne Deutsch.

ไวยากรณ์ Zeitform: Präsens

ใช้เมื่อต้องการบอกเล่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และดำเนินอยู่ในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเมื่อต้องการพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคต จะมีการนำ Adverb เข้ามาช่วยเพื่อบ่งบอกช่วงเวลานั้นๆ เช่น morgen พรุ่งนี้ heute Abend เย็นนี้ หรือ nächste Woche สัปดาห์หน้า เป็นต้น

ไวยากรณ์ Zeitform: Präsens

นอกจากนี้แล้ว Präsens ยังสามารถใช้
- บ่งบอกข้อเท็จจริง หรือเงื่อนไขในปัจจุบัน
เช่น Das ist Paul. นั่นคือพอล
- การกระทำที่เกิดขึ้นครั้งเดียว หลายครั้งหรืออย่างสม่ำเสมอ หรือไม่เคยเกิดขึ้นเลย
Von Montag bis Freitag gehe ich in die Schule. ฉันไปโรงเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือเกิดขึ้นหลายครั้ง
- ใช้เมื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นหรือดำเนินมานานแค่ไหนแล้ว
Ich bin seit 3 Jahren in Deutschland.
ฉันอยู่ที่ประเทศเยอรมนีมา 3 ปีแล้ว

โครงสร้างประโยค Präsens

จะประกอบด้วย
Subjekt (ประธาน) + konjugiertes Verb (กริยาต่างๆที่มีการผันตามประธานแล้ว) + (Objekt)

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

ประเภทของประธานจะแบ่งตามคำสรรพนามแทนบุคคล ได้แก่
สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ (1. Person Singular)
👉 ich (ฉัน) การผันกริยาในรูป Präsens จะตัด -en ในกริยารูป Infinitiv ออก และเติมคำลงท้ายของกริยาลงไปเป็น -e เสมอ
ไม่ว่ากริยานั้นจะเป็น regelmäßige หรือ unregelmäßige Verben ใน ich จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระ และจะผันแค่คำลงท้ายเท่านั้น

ประธาน ich


essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Ich esse.
kochen
👇
Ich koche.
rennen
👇
Ich renne.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ (2. Person Singular)
👉 du เธอ จะมีคำลงท้ายของกริยาเป็น -st เสมอ และใน unregelmäßige Verben จะมีการเปลี่ยนเสียงสระด้วย
เราจะทำการตัด -en ใน Endung แล้วเติม st เข้าไปแทน

ประธาน du


essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Du isst.
kochen
👇
Du kochst.
rennen
👇
Du rennst.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์ (3. Person Singular)
👉 er เขา, sie หล่อน, es มัน นอกจากนี้แล้ว คำนามอื่นๆที่เป็นเอกพจน์ เช่น der Mann ผู้ชาย der Hund สุนัข ก็จะมีกฏการผันเช่นเดียวกัน คือจะมีคำลงท้ายของกริยาเป็น -t เสมอ
เราจะทำการตัด -en ใน Endung แล้วเติม t เข้าไปแทน

และใน unregelmäßige Verben จะมีการเปลี่ยนเสียงสระด้วย

ประธาน er, sie ,es


essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Er isst.
kochen
👇
Sie kocht.
rennen
👇
Der Hund rennt.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ (2. Person Singular)
👉 Sie คุณ (รูปสุภาพ) จะไม่มีการผันกริยาใดๆ คือจะใช้กริยาที่เป็นรูป Infinitiv หรือจะเรียกว่า die Höflichkeitsform
essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Sie essen
kochen
👇
Sie kochen.
rennen
👇
Sie rennen.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ (1. Person Plural)
👉 wir พวกเรา จะไม่มีการผันกริยาใดๆ คือจะใช้กริยาที่เป็นรูป Infinitiv เป็นรูปกริยาของพหูพจน์
essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Wir essen
kochen
👇
Wir kochen.
rennen
👇
Wir rennen.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์ (2. Person Plural)
👉 ihr พวกเธอ จะมีคำลงท้ายของกริยาเป็น -t เสมอคล้าย er, sie, es แต่จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระใน unregelmäßige Verben
essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Ihr esst
kochen
👇
Ihr kocht.
rennen
👇
Ihr rennt.

ประเภทของประธานที่เราต้องผันกริยาตาม

สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์ (3. Person Plural)
👉 sie พวกเขา รวมถึงคำนามอื่นๆที่อยู่ในรูปพหูพจน์ จะไม่มีการผันกริยาใดๆ คือจะใช้กริยาที่เป็นรูป Infinitiv เป็นรูปกริยาของพหูพจน์ คล้ายใน wir และ Sie รูปสุภาพ
essen (unregelmäßiges Verb)
👇
Sie essen
kochen
👇
Sie kochen.
rennen
👇
Sie rennen.

กริยาบางตัวจะต้องมีการเติม e เข้าไปเพิ่มก่อนเติมคำลงท้ายด้วย st ใน du และ t ใน er/sie/es หรือ ihr

ได้แก่กริยาที่มี Verbstamm (รากคำ) ลงท้ายด้วย t หรือ d

เช่น warten
ตัด Endung en ออกไป
👇
เหลือ Verbstamm คือ wart-
👇
เติม e เข้าไป ได้เป็น
warte-
หลังจากนั้นจึงเติม Endung ตามประธานเข้าไป คือ
Du wartest.
Er/sie/es wartet
Ihr wartet

กริยาที่รากคำลงท้ายด้วย s/ß/x/z

ในสรรพนาม du จะทำการผันโดยเติม t ไปที่ท้ายคำเท่านั้น ไม่ใช่ st ตามปกติ
tanzen 👉 (Du) tanzt
sitzen 👉 (Du) sitzt
heißen 👉 (Du) heißt
reisen 👉 (Du) reist

การเปลี่ยนเสียงสระใน unregelmäßige Verben

เราพอจะทราบแล้วบ้างว่าในการผัน unregelmäßige Verben จะมีการเปลี่ยนเสียงสระไป
มาดูกันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

a 👉 ä
fahren 👉 fährt ขับรถ

lassen 👉 lässt ยอม, ปล่อย

schlafen 👉 schläft นอน

tragen 👉 trägt ถือ, หิ้ว

การเปลี่ยนเสียงสระใน unregelmäßige Verben


e 👉 ie
lesen 👉 liest อ่าน

sehen 👉 sieht เห็น

empfehlen 👉 empfiehlt แนะนำ

การเปลี่ยนเสียงสระใน unregelmäßige Verben

e 👉 i
geben 👉 gibt ให้

sprechen 👉 spricht พูด

helfen 👉 hilft ช่วย

nehmen 👉 nimmt เอามา

essen 👉 isst กิน

การเปลี่ยนเสียงสระใน unregelmäßige Verben

au 👉 äu
laufen 👉 läuft วิ่ง

o 👉 ö
stoßen 👉 stößt ชน

ฝึกการอ่าน Ein Tag im Park

⭐คำที่ถูกเน้นย้ำคือการใช้รูป Präsens
Es ist (sein) ein sonniger Tag.
มันเป็นวันที่แดดออก (อากาศดี)
Lisa geht (gehen) in den Park. ลิซ่าไปที่สวนสาธารณะ
Sie sieht (sehen) viele Bäume und Blumen. เธอเห็นต้นไม้ และดอกไม้มากมาย
Die Vögel singen. (singen) นกร้องเพลง
Lisa setzt (setzen) sich auf eine Bank. ลิซ่านั่งลงบนม้านั่ง
Sie isst (essen) ein Sandwich. เธอกินแซนวิช
Es ist (sein) lecker. มันอร่อย
Plötzlich sieht (sehen) Lisa einen Hund. ทันใดนั้น ลิซ่าก็เห็นสุนัข
Der Hund rennt (rennen) zu ihr. สุนัขวิ่งมาหาเธอ
Sie streichelt (streicheln) den Hund. เธอลูบสุนัข
Der Hund bellt (bellen) fröhlich. สุนัขเห่าอย่างดีใจ
Lisa lacht (lachen). ลิซ่าหัวเราะ

ฝึกการอ่าน Ein Tag im Park

⭐คำที่ถูกเน้นย้ำคือการใช้รูป Präsens
Dann stehe (aufstehen) Lisa auf. แล้วลิซ่าก็ลุกขึ้น
Sie geht spazieren. (spazieren gehen) เธอไปเดินเล่น
Sie sieht (sehen) Kinder, เธอมองเห็นเด็กๆ
die im Sand spielen (spielen). ที่เล่นทรายอยู่
Sie hört (hören) das Lachen der Kinder. เธอได้ยินเสียงหัวเราะของเด็กๆ
Lisa macht (machen) Fotos von den Blumen. ลิซ่าถ่ายรูปดอกไม้
Sie sind (sein) bunt. ดอกไม้มีสีสดใส
Die Fotos sind (sein) schön. รูปภาพสวย
Es wird (werden) langsam dunkel. มันเริ่มที่จะค่ำ
Lisa geht (gehen) nach Hause. ลิซ่ากลับบ้าน
Sie hat einen schönen Tag im Park gehabt. ลิซ่ามีวันที่ดีๆในสวน

เรามาทบทวนด้วยกันเถอะ

หากการเรียนรู้คนเดียวนั้นน่าเบื่อเกินไป เรามาทบทวนความรู้ของบทนี้ไปด้วยกันเถอะ เริ่มเลย 👏

โครงสร้างประโยค ich du er, sie, es Sie wir ihr sie เสียงสระ unregelmäßige Verben ตัวอย่างการใช้