แตะที่ไอคอนเพื่อดูเมนูเพิ่มเติม

Was ist Konjugation?: การผันกริยาคืออะไร

โครงสร้างประโยคในภาษาเยอรมัน

จะประกอบไปด้วย
ประธานของประโยค (Subjekt) อาจจะเป็นคำนาม หรือสรรพนาม เช่น เขา สุนัข ฉัน จะทำหน้าที่เป็นผู้กระทำในประโยค

das Verb

หลังประธานจะตามด้วยคำกริยา (Verb) เพื่อแสดงว่าประธานนั้นแสดงกริยา อาการ หรือทำสิ่งต่าง ๆ เช่น ฉันอาบน้ำ ฉันนอน
ปกติแล้วในประโยคจะมีกรรม (Objekt) ตามหลังคำกริยา เพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์มากขึ้น
แต่ในบางกรณีที่คำกริยานั้นไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เราก็สามารถที่จะมีประโยคที่สมบูรณ์โดยไม่มีกรรมได้ เช่น ฉันเดิน ฉันวิ่ง

die Konjugation

คือการเปลี่ยนรูปของคำ ในกรณีนี้คือ คำกริยา
สาเหตุที่ต้องมีการผันหรือเปลี่ยนรูปนั้นเป็นเพราะว่า ในภาษาเยอรมัน จะมีการใช้รูปของคำกริยาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของประธานในประโยคนั้น
การแบ่งประเภทของประธาน จะแบ่งตามคำสรรพนามแทนบุคคล หรือ Personalpronomen👉

คำกริยาในภาษาเยอรมันสังเกตุไม่ยาก

เพราะมักจะลงท้ายด้วยคำว่า -en, -n หรือ -ieren
คำกริยาของภาษาเยอรมันยังมีรากคำ หรือที่เรียกว่า Verbstamm จะเป็นส่วนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะคงอยู่แบบนี้เสมอ
รูปของคำกริยาที่ยังไม่มีการผันจะเรียกว่า Infinitiv มักจะอยู่ในรูปที่ลงท้ายด้วยคำเหล่านี้ (-en, -n เช่น rennen) เราจะเรียก คำลงท้ายนี้ว่า Endung
ในการผันกริยาธรรมดา เราจะทำการผันที่ Endung

ประเภทของคำกริยา

ในภาษาเยอรมันยังมีการแบ่งประเภทของคำกริยาออกเป็น 2 ประเภท
คือ กริยาปกติ regelmäßige Verben หรือ schwache Verben
เป็นกริยาที่จะมีการผันโดยเปลี่ยนแค่คำลงท้าย หรือ Endung ตามประธานเท่านั้น จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระอื่นๆในรากคำ (Verbstamm)
รูป Infinitiv "rennen"
Verbstamm คือ renn และ Endung คือ -en
เมื่อประธานเป็น Ich และเราทำการผันเพียงแค่ Endung จะได้ 👉 Ich renne. ฉันวิ่ง

ประเภทของคำกริยา

คือ กริยาไม่ปกติ unregelmäßige Verben หรือ starke Verben
เป็นกริยาที่จะมีการผันโดยเปลี่ยนทั้งคำลงท้าย หรือ Endung และเสียงสระในรากคำ (Verbstamm) ในประธานเอกพจน์บุรุษที่ 2 (er, sie, es) และ 3 (du) เช่น
รูป Infinitiv "essen"
Verbstamm คือ ess และ Endung คือ -en
เมื่อประธานเป็น Er จะมีการเปลี่ยนเสียงสระใน Verbstamm จาก e 👉 i
และ Endung ของ er จะลงท้ายด้วย t
จะได้ 👉 Er isst เขากิน... เห็นได้ว่าจะมีการเปลี่ยนทั้งเสียงสระในรากคำ และคำลงท้าย